User Experience : คุ้มค่าน่าลงทุนจริงหรือ?

User Experience (UX) คือศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือซอฟแวร์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นใช้งานได้ง่าย ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ

UX

User Experience (UX) คือศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือซอฟแวร์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นใช้งานได้ง่าย ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ

การ ทำ UX นั้นมีขั้นตอนการเก็บข้อมูลและทำวิจัยค่อนข้างมาก กล่าวกันว่าในต่างประเทศนั้นใช้เงินลงทุนสำหรับการทำ UX มูลค่าเทียบเท่ากับการทำแอพพลิเคชั่น 1 แอพเลยทีเดียว จนหลายคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า User Experience เกิดความสงสัยว่า การลงทุนจ่ายเงินเพื่อศึกษางานก่อนเริ่มงานจริงนั้นคุ้มค่าหรือไม่ บทความนี้จะชีให้เห็นความแตกต่างของผลลัพธ์ระหว่างการทำและไม่ทำ UX

บท ความชิ้นหนึ่งของ IEEE ชื่อว่า Why Software Fails ได้กล่าวว่า งบประมาณที่ลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)นั้นมีมูลค่าถึง 1ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี (1 Trillion) จำนวนโครงการที่ประสบความล้มเหลวหรือต้องล้มเลิกไปกลางคันมีสัดส่วนถึง 15% ของโครงการด้านสารสนเทศทั้งหมด สัดส่วนของเม็ดเงินที่บริษัทหนึ่งจ่ายลงไปให้กับฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฝ่าย IT) นั้นคิดเป็น 5% ของรายรับทั้งหมดของบริษัท และจะเพิ่มเป็น 10% หากเป็นเรื่องของระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Telecommunication)

ใน การทำงาน โปรแกรมเมอร์ทั้งหลายใช้เวลาไปกับการแก้ไขงานที่ผิดพลาดเป็นเวลาครึ่งหนึ่ง (50%) ของเวลางานทั้งหมด ซึ่งความผิดพลาดเหล่านั้นล้วนแล้วแต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้หากมี การวางแผนอย่างรัดกุมก่อนเริ่มลงมือเขียนโปรแกรมจริง  และค่าใช้จ่ายเพื่อการแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมที่พัฒนาเสร็จสมบูรณ์แล้ว นั้นมีมูลค่าสูงกว่าการแก้ไขในระหว่างการโปรแกรมถึง 100 เท่าเลยทีเดียว

อะไรเป็นเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในงานเหล่านั้น?

3 เหตุผลหลักจาก 12  เหตุผลที่ทำให้งานต้องล้มเหลวมีสาเหตุมาจาก

การให้ Requirement (ความต้องการจากลูกค้า) ที่ไม่ชัดเจน,

การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนระหว่างลูกค้า ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และผู้ใช้

รวมไปถึงการเมืองภายในระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน

สิ่ง ที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน User Experience มักจะทำเพื่อให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างราบรื่น เปี่ยมประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ได้แก่ การสัมภาษณ์บรรดาผู้ถือหุ้น(กรณีลูกค้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่) เก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความพึงพอใจของบรรดาผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่จะออกมาสามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่ม เป้าหมายในขณะเดียวกันผลงานนั้นก็ต้องประสบความสำเร็จทางธุรกิจด้วย

แล้วอะไรมาชี้วัดว่าการทำ User Experience จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า?

ตัว เลขส่วนต่างของผลกำไรที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงปริมาณเวลาที่ประหยัดได้ ระหว่างการลงทุนกับไม่ลงทุนด้าน UX ล้วนสามารถคำนวณได้อย่างแน่นอน

ยก ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นบริษัท Micro Lending องค์กรไม่แสวงหากำไรที่เปิดเว็บไซต์รับบริจาคเงินจากคนทั่วโลกเพื่อนำไปให้ กู้ยืมในดอกเบี้ยต่ำ สำหรับผู้ที่ต้องการจะตั้งตัวทำธุรกิจหรือประกอบกิจการ วิธีการขอรับบริจาคของคุณคือการเปิดเว็บไซต์เพื่อให้ข้อมูลและรับบริจาค แต่ทว่าเว็บไซต์ของคุณใช้งานยากและสับสน ทั้งยังมีขั้นตอนการกรอกข้อมูลรับบริจาคที่ซับซ้อน ทำให้เกิดคนจำนวนหนึ่งที่ตั้งใจจะบริจาคเงินให้กับคุณเกิดความเบื่อหน่ายและ ตัดสินเปลี่ยนใจกลางคันเนื่องจากความรำคาญ จำนวนคนที่ท้อแท้และท้อถอยเพราะ User Experience Error อาจมีสูงถึง 50 คนต่อวันเป็นอย่างน้อย สมมุติว่าตามปกติจะมีลูกค้าบริจาคเงินเฉลี่ย 50 เหรียญ (1,500 บาท) ต่อหนึ่งคน นั่นเท่ากับว่าคุณต้องสูญเสียเงินบริจาคที่ควรจะได้รับเป็นจำนวนถึง 2,500 เหรียญต่อวัน (75,000 บาท) นั่นเท่ากับ 912,000 เหรียญต่อปี (27,360,000 บาท)

หากคุณเจียดเงินสัก 50,000 เหรียญ( 1,500,000 บาท)เพื่อวิจัยเว็บไซต์ใหม่ให้มี User Experience ที่ดีขึ้น และลงทุนอีก 50,000 เหรียญเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่ทั้งหมดตามข้อมูลที่ได้จากการวิจัย User Experience รวมๆแล้วแปลว่าคุณต้องลงทุนเพื่อปรับปรุง User Experience สำหรับเว็บไซต์นี้ 100,000 เหรียญ (3,000,000 บาท) และคุณจะใช้เวลาเพียง 40 วันหรือเดือนกว่าๆในการคืนทุน

ผลที่ได้รับจากการพัฒนา User Experience สามารถคำนวณเป็นผลลัพธ์ในทางอื่นได้อีกมาก ไม่จำกัดเฉพาะตัวเงิน อย่างเช่น ปริมาณผู้ลงทะเบียนสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ที่เลิกใช้งานเว็บไซต์กลางคันเพราะทนกับขั้นตอนกับยุ่งยากซับซ้อน ไม่ไหวก็จะลดลง หรือหากคุณเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้ซอฟแวร์ในการฝึกอบรมก็จะสามารถประหยัด เวลาในการฝึกอบรมพนักงานได้มากขึ้น สามารถเพิ่มปริมาณผู้ใช้งานหรือยอดดาวน์โหลดของแอพพลิเคชั่น ช่วยประหยัดเวลาของผู้ใช้ ประหยัดเวลาสำหรับการพัฒนาซอฟแวร์ แม้ปริมาณของข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์และการร้องเรียนปัญหาผ่าน Customer Service ก็จะลดลง

สำหรับในประเทศไทยนั้น การตื่นตัวเรื่อง User Experience นั้นยังไม่กว้างขวางเท่าที่ควร ผู้พัฒนาซอฟแวร์รวมไปถึง Investor จำนวนมากยังมองว่า User Experience เป็นเพียงเรื่องของ Usability การพัฒนาซอฟแวร์ที่มุ่งแต่จะตามใจลูกค้าเป็นหลักจึงมักจะย้อนกลับมาทำร้าย ตัวผู้พัฒนาแอพด้วยปริมาณปัญหาที่เกิดขึ้นไม่หยุดหย่อนระหว่างการพัฒนาทั้ง จากตัวซอฟแวร์เองและจากความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยตามอารมณ์ของ ลูกค้า หากผู้พัฒนาซอฟแวร์และนักลงทุนจะเห็นความสำคัญของการเตรียมตัวด้าน User Experience มากขึ้น เชื่อว่าในอนาคตจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงระดับ High End จำนวนมากเกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างแน่นอน

หากประสงค์จะชมภาพที่ชัดเจนขึ้นของ User Experience กับความคุ้มค่าในการลงทุน

สามารถชมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=O94kYyzqvTc&list=LLVQLyCRuvJ2eKg5sOK6xlwA&feature=mh_lolz

————————————
ขอบคุณและที่มา : User Experience : คุ้มค่าน่าลงทุนจริงหรือ?
โดย Mink Thaitrong (บันทึก) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2013 เวลา 19:11 น.
URL : https://www.facebook.com/notes/mink-thaitrong/user-experience-คุ้มค่าน่าลงทุนจริงหรือ/10151554988792949
——-
บทความโดยทีมงาน BoomzStore.com หากคุณต้องการนำเนื้อหาไปเผยแพร่ต่อ โปรดอ่านทางนี้ก่อน!!!
——-




Facebook Comments
บอกต่อเพื่อนๆ